Back to English

 
AIRCRAFT NAVIGATION SYSTEM
 
Aircraft Navigation
 
NAV  DIAL
 
Navigation Introduction
 
V H F Omni Range
VOR
 
Automatic Direction Finder
ADF
 
Long Range Navigation
LORAN
 
Global Positioning System
GPS
 
AUTOMATIC DIRECTION FINDER
 
ADF (Automatic Direction Finder) เป็นระบบคลื่นสัญญาณวิทยุที่มีความถี่ต่ำถึงปานกลาง ที่ความถี่ 190 Khz. ถึง 1750 Khz. ระบบนี้ ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันมีข้อได้เปรียบกว่าระบบ VOR เพราะการรับสัญญาณ จะไม่จำกัดอยู่ตรงที่จะต้องอยู่ในแนวเส้นตรง ที่ไม่มีอะไรกีดขวางสัญญาณ ADF สามารถเดินทางไปตามแนวโค้งของผิวโลกได ้ระยะทางไกลสุดของสัญญาณ ขึ้นอยู่กำลังแรงส่งของสัญญาณ ระบบ ADF สามารถรับได้ทั้งสัญญาณจากสถานีวิทยุ AM ทั่วไป และสถานีส่ง NDB (Non-Directional Beacon) สถานีวิทยุ AM ทั่วไปส่งคลื่นที่ความถี่ 540 ถึง 1620 Khz. สถานี NDB ( Non-Directional Beacon ) ส่งคลื่นความถี่ ที่ 190 ถึง 535 Khz.
 
ADF COMPONENTS
  • ADF Receiver : นักบินสามารถปรับคลื่นความถี่ ไปรับคลื่นความถี่ และระบบจากสถานีที่ต้องการ สัญญาณที่รับได้ จะ ขยาย และ แปลงคลื่นความถี่ เป็น เสียง หรือ สัญญาณมอส และยังส่งสัญญาณให้เครื่องชี้ มุม bearing indicator ทำงานด้วย.


  • Control Box (Digital Readout Type) : เครื่องบินในปัจจุบันมักจะมีระบบที่บ่งบอกนักบิน เป็นตัวเลขเลย เช่นความถี่ที่เลือกทิศทางของสถานี ก็จะบ่งบอกออกมาเป็นตัวเลข เลย เช่นกัน

  • Antenna : เครื่องบินจะมีสายอากาศสองชนิด เราเรียกว่าสายอากาศแบบ LOOP และสายอากาศแบบ SENSE เครื่องรับ ADF จะรับสัญญาณจาก ทั้งคู่คือสายอากาศแบบ loop และ sense สายอากาศแบบ loop ที่ใช้ ทั่วไปทุกวันนี้ เป็นแบบแบนๆ เล็ก อยู่กับที่ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหว ภายในประกอบไปด้วยขดลวดหลายขด ตั้งอยู่ ในมุมที่ต่างๆกัน สายอากาศแบบ loop นี้ จะรับสัญญาณทิศทางของสถานี ส่งโดยประมวลมาจากความแรง ของสัญญาณที่ขดลวดแต่ละขดที่ได้รับ แต่ก็ยังบอกไม่ได้ว่าสัญญาณนั้นมาจากด้านหลัง หรือด้านหน้า ( to or from) สายอากาศแบบ sense จะช่วยให้ข้อมูลว่าสัญญาณที่ได้มานั้นมาจากด้านหน้า หรือด้านหลัง

  • Bearing Indicator : แสดง และบ่งบอกทิศทางของสถานีส่ง เป็นองศาเมื่อเปรียบกับทิสทางของหัว หรือลำตัวของเครื่องบิน
    Relative Bearing เป็นมุมที่เกิดจากการลากเส้นผ่านลำตัวเครื่องบินหรือเส้นที่เครื่องบิน heading กับเส้นที่ลากจากลำตัวเครื่องบินไปยังสถานีวิทยุ หรือสถานีส่ง (ดูรูปประกอบ)
    Magnetic Bearing เป็นมุมที่เกิดจากการลากเส้นผ่านลำตัวเครื่องบินหรือเส้นที่เครื่องบิน heading ไปยังสถานีส่ง และบวกกับมุม ที่ลากจากตัวเครื่องบินเครื่องบินไปยังทิศเหนือ แม่เหล็ก (Bearing to station) (ดูรูปประกอบ)
    Magnetic Bearing = Magnetic Heading + Relative Bearing.
  •  
     
    TYPE OF ADF INDICATOR
    หน้าปัดบ่งชี้ หรือเครื่องบ่งบอกในระบบ ADF ที่ใช้ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 4 แบบด้วยกันที่เข็ม ชี้ไปยังสถานีสี่แบบนั้นคือ :
  • Fixed Compass Card : หน้าปัดจะยึดติดอยู่กับที่ ไม่สามารถจะหมุนได้ 0 องศาจะอยู่ด้านบนเสมอ ซึ่งหมายถึงหัวเครื่องบิน nose


    ความสัมพันธ์ ระหว่างเครื่องบิน และสถานีส่งสัญญาณ ซึ่งหมายถึง " มุมองศา จาก สถานี " MB หรือเครื่องบิน กับขั้วเหนือแม่เหล็ก ADF ที่มีหน้าปัดชนิดนี้ นักบินต้องคำนวนมุมองศาจากสูตร
    MB = RB + MH


  • Rotatable Compass Card : หน้าปัดชนิดนี้สามารถหมุนได้ โดยมีปุ่มให้หมุน โดยหมุนหน้าปัดให้ Magnetic Heading (MH) ของเครื่องบิน อยู่ใต้เข็ม ด้านบน


    มุมองศาจากสถานีส่ง (MB) สามารถอ่านได้โดยตรงจากหน้าปัดเข็มทิศ โดยไม่ต้องคำนวนใดๆ ทำให้ง่ายแก่นักบิน ปัจจุบันมีการออกแบบให้หน้าปัดเข็มทิศ หมุนโดยอัตโนมัติ และสอดคล้องกับ magnetic heading (MH) ของเครื่องบิน ซึ่งMB ไปยังสถานีสามารถอ่านได้ทุกเวลา โดยไม่ต้องหมุนหน้าปัดเข็มทิศด้วยมือ เลย

  • Single-Needle Radio Magnetic Indicator : เข็มหน้าปัด RMI เดี่ยว (Radio Magnetic Indicator) เป็นเครื่องมือที่ประกอบไปด้วย ข้อมูล heading , bearing , และ ตำแหน่ง radial .


    หน้าปัดของ single needle RMI ก็คล้ายกับหน้าปัด ชนิดที่สามารถหมุนได้

  • Dual-Needle Radio Magnetic Indicator : แบบเข็มหน้าปัด RMI คู่ก็เหมือนกับเข็มหน้าปัด RMI เดี่ยวนอกจากว่ามีเข็มหน้าปัด อันที่สองเข็มหน้าปัด อันแรก ทำหน้าที่ เหมือนกับแบบเข็มหน้าปัดแบบเดี่ยว จากภาพเข็มสีเหลือง (อันใหญ่) ทำหน้าที่เหมือน แบบเข็มหน้าปัด แบบเดี่ยวซึ่งแสดงถึง Magnetic Bearing ไปยังสถานี NDB เข็มหน้าปัดอันที่สองที่เป็นสีเขียว (อันเล็ก) ในภาพ


    เข็มหน้าปัดอันที่สอง (สีเขียว ) ก็จะชี้ ไปยังสถานี VOR เครื่องชี้แบบเข็มหน้าปัดคู่มีประโยชน์ ในการชี้ตำแหน่งของเครื่องบิน
  •  
    OPERATION
    ระบบ ADF ทำงานในช่วงของความถี่ที่ต่ำ และกลางโดยการปรับความถี่ไปยังสถานี NDB และสถานีวิทยุ AM ความถี่ของสถานี NDB และ ชื่อของสถานีสามารถทราบได้จากแผนที่ สำหรับการเดินทางทางอากาศ และสนามบิน (aeronautical charts ) ระบบ ADF มี ระบบค้นหาอัตโนมัติ ซึ่งเข็มจะชี้ ไปยังสถานีส่งที่ปรับคลื่นไปรับ วิธีที่ง่าย และใช้กันโดยทั่วไป สำหรับระบบ ADF คือการ " home " ไปยังสถานีส่งสัญญาณ เพราะว่าเข็มของระบบ ADF จะชี้ไปยังสถานีส่งตลอดเวลา นักบินสามารถหันหัวโดยให้เข็มชี้ไปที่ 0 (zero) องศา เมื่อใช้ ADF แบบหน้าปัดอยู่กับที่ สถานีส่งสัญญาณ ก็จะอยู่ ด้านหน้า ของเครื่องบินโดยตรง แต่โดยปกติเมื่อบินสูงขึ้นไปก็จะมีลมดังนั้น นักบินจึงต้องบินเผื่อการเคลื่อนที่ ออกจากแนวโดยลมไว้ด้วย ถ้าเครื่องบินออกจากแนวไป ทางซ้าย หัวลูกศรของเข็มจะชี้ไปทางขวา และถ้า เครื่องบินออกจาก แนวที่ต้องการบินไปทางขวา หัวลูกศรของเข็มก็จะชี้ไปทางซ้าย

  • หน้าปัดคงที่ , ถ้าไม่บินแบบ Homing และต้องบินไปตามองศาใดองศาหนึ่ง นักบินก็ต้องใช้สูตรในการคำนวน MB = MH + RB เพื่อจะดูว่าจริงๆแล้วเข็มควรจะต้องชี้ หรือต้องบินไปที่องศาเท่าไร ทุกวันนี้หน้าปัดแบบ คงที่ หรือยึดติดจะไม่นิยมใช้กันแล้ว แต่ก็ยังพอมีใช้อยู่บ้าง แต่นักบินไม่ค่อยใช้ เนื่องจากมีแบบอื่นๆ ที่ง่ายกว่า

  • หน้าปัดหมุนปรับได้, มันเป็นก้าวสำคัญจากรุ่นหน้าปัดคงที่ นักบินสามารถหมุนปรับหน้าปัดด้วยปุ่มปรับมุ่งหน้า " ขึ้นข้างบน " . ดังนั้น เข็มจะชี้ เป็นมุมองศาที่อยู่ห่าง จากสถานีส่ง NDB station.

  • หน้าปัดเข็มเดี่ยว Radio Magnetic Indicator , หน้าปัดชี้ทิศทางที่หน้าปัดสามารถหมุนได้อัตโนมัติ เข็มชี้ทิศทางที่ต้องการเดินทางตลอดเวลา เข็มจะชี้ทิศทางที่แม่นยำ และบอกมุมที่เครื่องบินทำกับสถานีส่งสัญญาณ เครื่องมือนี้ เรียกว่า เป็นเครื่องมือที่นักบินสามารถ " ปล่อยมือ " ได้

  • หน้าปัดเข็มชนิดคู่ Radio Magnetic Indicator, มันให้ข้อมูลนักบินเหมือนกับแบบชนิดเข็มเดี่ยว เช่น ทิศทางที่เครื่องบินบินไป มุมที่เครื่องบิน ทำกับสถานีส่งสัญญาณ NDB เข็มอันที่สองจะชี้ไปยังสถานี ส่งสัญญาณ VOR เพื่อ ช่วยนักบินหาตำแหน่ง ที่เครื่องบินของตัวเองอยู่ ณ ตำแหน่งใดในขณะนั้น.
  •  


    © 2001-2007 Thai Technics.Com All Rights Reserved
    Contact Webmaster